Data Logger กับการสื่อสารผ่านเครื่องคอมพิวเตอร์

เชื่อว่าหลาย ๆ ท่านคงจะเคยได้ยินความสามารถของอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์อย่าง Data Logger กันมาบ้าง การใช้งานนอกจากจะแสดงผลผ่านหน้าปัดของเครื่องแล้ว ยังใช้งานร่วมกับอุปกรณ์สื่อสารได้มากมาย หนึ่งในนั้นคือ เครื่องคอมพิวเตอร์ ซึ่ง Data Logger กับการสื่อสารผ่านเครื่องคอมพิวเตอร์ จะเป็นอย่างไรติดตามไปพร้อมกันได้เลย

การทำงานของ Data Logger

ก่อนอื่นต้องทำความเข้าใจถึงการทำงานของ Data Logger เราสามารถนำข้อมูลจาก Data Logger มาเชื่อมต่อกับเครื่องคอมพิวเตอร์เพื่อให้อ่านค่าจากหน่วยความจำที่ใช้งานอยู่แล้วมานำเสนอบนหน้าจอคอมพิวเตอร์ได้ ซึ่งรูปแบบการทำงานนั้นมาจากการที่ Data Logger รับค่าจากตัว Sensor ที่บันทึกข้อมูลไว้ มาแปลงสัญญาณผ่านเข้ากับ Signal Convertor ให้เป็นสัญญาณที่ A/D เพื่อให้แปลงเป็นข้อมูลแบบ Digital อีกครั้ง ซึ่งข้อมูลที่เป็น Digital นี้ จะมีการจัดเก็บเข้าหน่วยความจำของ Data Logger หรือเลือกมาแสดงให้เห็นบนหน้าปัดเครื่อง หรือบนหน้าจอคอมพิวเตอร์ที่มีสัญญาณเชื่อมต่ออยู่

การแจ้งเตือนผู้ใช้งานในส่วนของข้อมูลค่าวัดทางกายภาพต่าง ๆ ว่ามีมากไปหรือน้อยไปนั้น ทำได้หลังจากที่ Data Logger แปลงสัญญาณมาแล้ว โดยค่าความละเอียดที่ได้ขึ้นอยู่กับจำนวน Bit ที่เลือกใช้ในสัญญาณ A/D ยิ่ง Bit มีมาก ก็ยิ่งได้ค่าที่วัดละเอียดมาก

รูปแบบการติดต่อระหว่างผู้ใช้งานกับ Data Logger

Data Logger จะมีรูปแบบให้เราได้เลือกใช้งาน ตั้งแต่เป็นแบบจอสัมผัส โดยเราสามารถใช้นิ้วสั่งงานบนหน้าปัดของเครื่องได้ทันที แบบปุ่มให้กดพร้อมหน้าจอแสดงผลเพื่อใช้งานที่เครื่อง Data Logger เลย แบบใช้คอมพิวเตอร์ในการทำงานและติดต่อกับ Data Logger และแบบควบคุมได้จากระยะไกลผ่านรีโมร์ท หรือมือถือ (Remote Programmer/Hand-held)

การสื่อสารระหว่าง Data Logger กับ เครื่องคอมพิวเตอร์

ต้องบอกก่อนว่ามาตรฐานการติดต่อสื่อสารระหว่าง Data Logger กับเครื่องคอมพิวเตอร์ ได้แก่ USB, Radio/Telemetry, Modem, RS232, Rs422, Rs485, Parrallel, Ethernet, TTL, GPIB, IEEE1394 และ SCSI โดยการติดต่อแต่ละแบบจะใช้งานร่วมกับคอมพิวเตอร์แตกต่างออกไป ตัวอย่างเช่น

  1. หากเราต้องการใช้คอมพิวเตอร์ติดต่อสื่อสารกับ Data Logger ตัวเดียว ในระยะใกล้ สามารถเชื่อมต่อสายจากคอมพิวเตอร์เข้ากับ Data Logger ที่ใช้มาตรฐาน RS232
  2. หากเราต้องการใช้คอมพิวเตอร์ติดต่อสื่อสารกับ Data Logger หลายๆ ตัวพร้อมกัน ในระยะใกล้ ก็ให้ต่อสายจากคอมพิวเตอร์เชื่อมต่อเข้ากับ Data Logger ที่ใช้มาตรฐาน RS485
  3. หากเราต้องการใช้คอมพิวเตอร์ติดต่อสื่อสารกับ Data Logger ที่อยู่ไกลกันมากๆ ก็ให้ใช้ Data Logger ที่เป็น Modem ติดต่อสื่อสารแทน

ทั้งนี้ คอมพิวเตอร์ยังมีส่วนสำคัญในการใช้งานร่วมกับ Data Logger ไม่ว่าจะเป็นกำหนดรูปแบบการทำงาน วิเคราะห์และประมวลผลแทน ใช้แสดงค่าข้อมูลแบบ Real Time หรือนำข้อมูลที่เก็บข้อมูลใน Data Logger มานำเสนอภายหลังได้ รวมถึงสร้างรูปแบบในการนำเสนอผ่านการพิมพ์ หรือบนจอด้วยรูปกราฟ หรือ Report ได้

 

 

ใส่ความเห็น